5 เรื่องราวที่ทำให้คุณไม่มีความสุขกับการทำงาน


ชีวิตในการทำงานของมนุษย์เงินเดือนมีเรื่องให้ยุ่งยากใจมากมาย ตอนแรกคุณอาจโกรธ พยายามต่อรองกับสิ่งต่างๆ จากนั้นเมื่อเห็นว่ามันไม่ได้ผลคุณก็เริ่มยอมรับว่าคุณไม่มีทางมีความสุขกับการทำงานได้หรอก

สิ่งที่คุณไม่พอใจบางครั้งเป็นตัวงาน บางครั้งเป็นสภาพการทำงานหรืออาจเป็นสถานการณ์ในชีวิตที่ส่งผลกระทบกับงาน ประเด็นคือไม่ใช่คุณคนเดียวหรอกที่เจอปัญหาแบบนี้ การศึกษาพบว่ากว่า 52.3% ของคนทำงานยังไม่พอใจกับผลลัพธ์ที่พวกเขาได้รับ แล้วคุณจะเยียวยาสถานการณ์นี้อย่างไรดี? ขั้นแรกคุณต้องรู้ก่อนว่าอะไรเป็นสาเหตุของปัญหา

ต่อไปนี้เป็น 5 สิ่งที่ทำให้คุณไม่มีความสุขกับการทำงานและวิธีการที่คุณจะก้าวข้ามมันไป

1. ไม่มีความทะเยอะทะยาน
หากคุณรู้สึกไม่มีความมุ่งมั่นกับงาน คุณอาจถามตัวเองว่าฉันเข้ากับงานนี้ได้ดีหรือเปล่า? คุณต้องตอบคำถามนี้กับตัวเองอย่างซื่อสัตย์ก่อนเพราะงานบางอย่างเมื่อคุณได้เติบโตขึ้นไปแล้วอาจจะเหมาะกับคุณก็ได้

คำตอบที่ได้จะออกมาในสองแนวทาง
1. คุณไม่ชอบงานนี้ วิธีแก้ก็ง่ายๆ คุณเปลี่ยนงานใหม่ที่ได้ทั้งเงินได้ทั้งทำในสิ่งที่ชอบ
2. ถ้าคุณชอบงานนี้แต่ยังไม่รู้สึกสุขใจ ลองหาว่ามีอะไรที่ทำให้คุณไม่สุขใจและแก้ปัญหาเป็นจุดๆ ถ้าแก้ไม่ได้ล่ะ? คุณอาจปล่อยมันไปถ้ามันไม่เดือนร้อนคุณมากนัก

2. งานไม่ท้าทาย
การทำงานก็เหมือนความสัมพันธ์นั้นแหละ หลายครั้งปัจจัยที่ทำให้ชีวิตแต่งงานและการทำงานจบลงคือความเบื่อหน่าย แน่นอนว่าความเบื่อเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณรู้สึกว่าพยายามหาเหตุผลลุกไปให้พ้นโต๊ะและหาเวลาฆ่าเวลาตอนที่เจ้านายไม่ได้มองอยู่ นั้นเป็นสัญญาณอันตรายแล้ว

ในทางกลับกัน งานที่ท้าทายก็ไม่ใช่งานที่คุณยุ่งอยู่เสมอแต่มันเป็นงานที่ทำให้คุณรู้สึกเหมือนได้กลับเข้าไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในมหาลัยตลอดชีวิตการทำงาน การเรียนรู้ พัฒนาตัวเอง และความเปลี่ยนแปลงเป็นหัวใจสำคัญของงานที่ท้าทาย

3. คุณเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้
เคยรู้สึกเพื่อนร่วมงานเกลียดขี้หน้าโดยไม่มีสาเหตุไหม? เอาเข้าจริงบางครั้งพวกเขาก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ

การทำงานอาจเป็นนรกได้หากสภาพแวดล้อมคุณไม่ดี พวกเขาอาจนินทา ไม่สนใจคุณตอนอยู่ในออฟฟิศ หรือรวมกลุ่มโดยไม่มีคุณหรือบางคนถึงกับก่อดราม่าแบบสมัยเรียนมัธยมซึ่งถ้าคุณเป็นคนธรรมดาหรือมนุษย์ทั่วไป คุณจะไม่ทำแบบนั้นแน่นอน

หากสภาพแวดล้อมการทำงานคุณเป็นเช่นนั้นก็มีสองตัวเลือก คุณอาจเผชิญหน้ากับปัญหาอย่างกล้าหาญหรือก็แค่ลาออกไป ประเด็นคือต้องดูว่าวัฒนธรรมองค์กรแบบนี้เข้มแข็งเกินไปแล้วหรือเปล่าหากไม่คุณก็ยังพอต่อรองกับมันได้แต่หากมันฝังรากลึกก็คงถึงเวลาที่คุณต้องสละเรือแล้วล่ะ

4. คุณไม่รู้สึกดีกับงานของคุณ
คุณอาจมีเงินเดือนดี มีเพื่อนร่วมงานดีและมีงานที่แจ่มแมวมาก แต่คุณก็ยังไม่รู้สึกปลอดภัย พัฒนาและมีความหวังกับการทำงานเลย

มันอาจเป็นเพราะคุณทำงานมากแต่ได้รับผลตอบแทนเท่าเดิมหรือบางครั้งคุณอาจเห็นแล้วว่าจุดปลายของการทำงานเป็นอย่างไร ประเด็นคือคุณต้องมองให้เห็นโอกาสเพื่อสามารถทำงานต่อไปได้

เลิกบอกตัวเองว่าทุกอย่างจะดีขึ้นอย่าให้ความรู้สึกแห้งแล้งมาทำให้คุณกลัวความเปลี่ยนแปลง จงยอมรับว่าคุณมีความรู้สึกบางอย่างที่ไม่โอเคและคุณอยากหลบหนีจากมัน ค่อยๆ เปิดประตูทีล่ะบานแล้วหาทางเปลี่ยนแปลงมันสิ

5. คุณอยากได้มากกว่านี้
หากทุกข้อที่ว่ามาไม่ใช่ปัญหาของคุณเลย บางทีคุณก็แค่เบื่องานและไม่รู้เหตุผล หรือบางทีอาจเป็นเพราะคุณไม่ได้ตั้งเป้าหมายอะไรเลย

หากภูมิปัญญาหลายศตวรรษของมนุษย์จะสอนอะไรเราบ้างก็คงเป็นเรื่องความแตกต่างระหว่างผู้บริหารกับลูกจ้างอยู่ที่ความคิดในการจัดการทรัพยากรของตัวเอง ดังนั้นอย่าดูถูกตัวเอง มองว่าคุณมีของอะไรในตัวและจัดสรรมันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความล้มเหลวอาจไม่ได้เกิดเพราะคุณไม่ฉลาด ขยันหรือเชื่อใจไม่ได้ แต่มันเกิดเพราะคุณไม่รู้ว่าตัวเองมีจุดแข็งตรงไหนต่างหาก

ที่มา : www.marketingoops.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 มิติคุณภาพบริการ

10 มิติคุณภาพบริการ

เทคนิคมีบุคลิกภาพที่ดีในที่ทำงาน