บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2016

ฝึกอบรมให้คนรักและผูกพันกับบริษัท

รูปภาพ
การฝึกอบรมเพื่อการปรับทัศนคติจะเกิดผลกระตุ้นให้คนเปิดความคิด เปิดมุมมองใหม่ในเบื้องต้น แต่การที่จะให้อยู่คงทนถาวรนั้น จะต้องมีสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมให้คนคงความรู้สึกเชิงบวกต่อองค์กรได้อย่างสม่ำเสมอ และยิ่งการมองไกลไปถึงการทำให้เกิดความรักและผูกพันต่อองค์กร ก็ยิ่งจะต้องออกแรงทำอีกหลายเรื่องมากกว่าการทำการฝึกอบรมเพียงอย่างเดียว คนจะผูกพันกับองค์กรนั้นจะต้องเกิดจากองค์ประกอบ 6 ตัวหลัก ก็คือ 1. คุณภาพของงาน เป็นเรื่องที่พนักงานได้รู้สึกว่า งานตัวเองมีคุณค่า ได้ทำอะไรที่ประสบผลสำเร็จ มีความเป็นอิสระในการได้คิดได้ตัดสินใจตามบทบาท งานมีความน่าสนใจและความน่าท้าทาย รวมทั้งมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างงานต่องาน 2. ผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การจ่ายค่าจ้างเงินเดือนผลตอบแทนที่แข่งขันได้ การจ่ายผลตอบแทนที่เป็นธรรม คนทำผลงานดีกว่าได้ผลตอบแทนดีกว่าคนที่ทำผลงานน้อยกว่า มีการให้รางวัลที่เป็นการเชิดชูยกย่องสิ่งที่พนักงานได้ทำความดีหรือมีผลงาน 3. มีโอกาสก้าวหน้าในการทำงาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับโอกาสในการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน โอกาสการ...

7 วิธีทำให้ผลงานของคุณเข้าตาเจ้านาย

รูปภาพ
1. เลี่ยงการปฏิเสธ  คุณจะได้รับความชื่นชมหากเป็นคนไม่เกี่ยงงาน 2. สงบเสงี่ยมเจียมปากเข้าไว้  หากเจ้านายทำผิดพลาด แล้วเรามองข้ามเหมือนเป็นการถนอมน้ำใจกันอย่างหนึ่ง พูดอะไรออกไปเท่ากับหักหน้าเขา ทำให้คุณหมดอนาคตในหน้าที่การงานเสียเปล่าๆ 3. มีความรับผิดชอบสูง  รู้ว่างานของตัวเองคืออะไร ทำหน้าที่รับมอบหมายมาให้ดีที่สุด ไปยุ่งงานคนอื่นเพื่อให้เจ้านายเห็นผลงานไม่เป็นการดีหรอก ทำให้เหมือนว่างานที่ทำอยู่นั้นน้อยเกินไป ทำให้คุณว่างจนไปยุ่มย่ามกับงานคนอื่น 4. อย่างเถียงเป็นอันขาด  แม้ว่าคุณเป็นฝ่ายถูก เขาอาจไม่ได้กุมอำนาจสูงสุด แต่การเลื่อนขั้น ขึ้นเงินเดือน อยู่ภายใต้การสนับสนุนของเขา ฉะนั้นเลี่ยงได้เลี่ยงไป เปลี่ยนการเถียงเป็นการชี้แจงดีกว่า 5. รู้ว่าตัวเองควรทำคะแนนเวลาไหน  ต้องระวังด้วยว่า การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ของคุณไม่ได้เป็นการทำให้เจ้านายเสียหน้า การแสดงตัวว่าเก่งกาจกว่าคนอื่นๆ โดยเฉพาะเจ้านายจะทำลายความก้าวหน้าของคุณได้ 6. กำจัดนิสัยช่างนินทา  เพราะพฤติกรรมแบบนี้เหมือนกับแทงผู้อื่นข้างหลัง อย่านินทาเจ้านาย เพราะคุณไม่มีทางรู้เลยว่า...

ความคิดสร้างสรรค์มาจากไหนได้บ้าง

รูปภาพ
ความคิดสร้างสรรค์คือการเชื่อมโยงสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันให้เข้ามาเกี่ยวข้องกัน หรือขยายความเกี่ยวข้องนั้นให้กว้างไกลยิ่งขึ้น หรืออาจพูดว่าอาจเป็นการมองสิ่งหนึ่งในอีกมุมมองหนึ่ง เมื่อทำแล้วก็จะได้สิ่งใหม่ที่ดีกว่า หรือได้สิ่งใหม่ที่เสริมสิ่งเดิมให้มีค่ามากขึ้น วันนี้ก็เอามาให้เป็นหลักยึดสัก 6 ข้อที่อาจนำไปใช้ได้ในการทำงานประจำวันของหัวหน้างาน ท่านว่าลองเชื่อและปฏิบัติตามนี้ดูครับ.. 1. อย่าคิดว่าหนทางที่ถูกมีเพียงวิธีเดียว ไม่ว่าปัญหา หรือการหาทางออกของการทำงานใดๆ อย่าคิดว่ามันมีเพียงวิธีเดียว  เมื่อไม่สามารถทำได้ตามนั้นก็มานั่งติดตันอยู่ แต่ต้องมองว่ามันคงมีทางอื่นอีกซีน่า คิดออกไปเรื่อยๆ ความเชื่อบวกกับการคิดอยู่เรื่อยๆก็ย่อมจะมองเห็นหนทางมากขึ้น 2. อย่าติดอยู่กับรูปแบบและประสบการณ์ดั้งเดิม ต้องคิดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ คงจำได้ สมัยก่อนนั้นตรา(ญี่ห้อ)ของเสื้อต้องอยู่ด้านในของปกเสื้อ และเป็นอย่างนั้นมานาน จะรู้ว่าเป็นตราอะไรก็ต้องรู้กันในหมู่ผู้ที่ใช้เสื้อญี่ห้อนั้นๆ ว่าให้สังเกตที่ปกบ้าง ให้สังเกตที่การเย็บกระดุมบ้าง แล้ววันดีคืนดีมีเสื้อของบริษัทหนึ่งเอาตราขอ...

5 วิธีเลือกงานอย่างไรให้เหมาะกับตัวเอง

รูปภาพ
1. เลือกงานที่ตรงใจเรา  เพราะเวลาที่เราทำงานเป็นเวลาส่วนใหญ่ของชีวิต อย่าไปเลือกงานที่พ่อ แม่ หรือเพื่อนชอบโดยที่เราไม่ชอบเพราะเราจะเสียเวลาชีวิต ทำได้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยนแปลงเลือกงานที่ตนเองรัก แม้ว่าเราจะไม่ได้จบมาตรงสาขาแต่ถ้าเป็นงานที่เราชอบ ที่เรารัก มันจะเป็นพื้นฐานในการทำงานได้ดี มีความอดทนพร้อมที่จะทุ่มเทแล้วก็ไม่เบื่อง่าย 2. เลือกงานที่ตรงกับสายธุรกิจขององค์กร   คือ เลือกให้ตรงกับงานหลักของบริษัทจะเป็นงานสำคัญขององค์กร มีโอกาสเติบโตสูง อย่างเช่น เป็นหมอ พยาบาลในโรงพยาบาล เป็นวิศวกรในโรงงานผลิตสินค้า เป็นนักการตลาดหรือเซลล์ในธุรกิจจัดจำหน่าย เป็นนักทำบัญชีในบริษัททำบัญชี/ตรวจสอบ 3. เลือกงานให้ตรงกับแนวโน้มธุรกิจในอนาคต  บริษัทที่มีแนวโน้มเติบโตสูงในอนาคตอย่างเช่น การสื่อสาร ระบบIT พลังงานทดแทน WIFI Internet สุขภาพ การท่องเที่ยว Green Technology อสังหาริมทรัพย์ และรับเหมาก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ เป็นต้น 4. เลือกงานที่ได้เรียนรู้ต่อยอดเพิ่มเติม  งานบางแห่งเป็นงานที่ซ้ำๆเดิมๆทุกๆปี มันจะทำให้เราไม่ได้เรียนรู้อะไร ไม่ทำให้เราเก่งมากขึ้น เราควรเลือกงานที่มีความหล...

6 วิธี ประชุมให้เกิดงาน คุ้มค่าเวลา

รูปภาพ
การประชุมมีขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจ สื่อสาร ทำให้เกิดงานมากขึ้น แต่ก็มีอีกหลายคนที่รู้สึกว่าการประชุมนั้น ไม่ช่วยอะไรเลย แถมยังเสียเวลาทำการทำงานอีกด้วย เรามาดูกันว่าจะทำอย่างไรให้การประชุมนั้นเกิดงาน มีประสิทธิภาพ และเกิดความก้าวหน้าในองค์กร 1. เลือกเวลา และหัวข้อ การประชุมที่มากเกินไปนั้น จะทำให้คนในองค์กรรู้สึกว่าการประชุมนั้นไม่สำคัญ ทำให้ผ่านๆไปละกัน ฉะนั้นการเลือกประชุมที่ดีต้องเลือกเฉพาะหัวข้อที่สำคัญ นอกจากนั้นเวลาที่ประชุมก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากเลือกเวลาไม่เหมาะ เช่น เช้าไป เย็นไป ก็ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมไม่มีสมาธิได้ 2. มีเป้าหมายในการประชุม คุณอาจคิดว่าการประชุมจะต้องการเป้าหมายไปทำไม เพราะเราก็มีหัวข้ออยู่แล้ว เดี๋ยวก็ได้ทางออกเอง แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิดมหันต์ เพราะการประชุมก็ต้องมีเป้าหมายเหมือนกัน เช่น ต้องการให้ทุกคนออกความเห็นเรื่องนี้ ต้องการ 10 ไอเดียสำหรับโปรเจคใหม่ที่กำลังทำ เป็นต้น การมีเป้าหมายที่จับต้องได้จะช่วยให้เราโฟกัสได้ 3. ถามคำถาม การประชุม ไม่ใช่หน้าที่ของหัวหน้าเพียงอย่างเดียว แต่ผู้ร่วมประชุมมีหน้าที่ถามคำถาม ตอบคำถาม รวมถึงแสดงควา...

เทคนิคการพัฒนาตนสำหรับคนหางาน

รูปภาพ
การคัดเลือกคนเข้าทำงานในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต เริ่มมีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการคัดเลือกคนเข้าทำงาน ถือเป็นด่านแรกและด่านสำคัญ ที่จะบ่งชี้การคัดเลือกคนในครั้งนั้น องค์กรจะได้กำไรหรือขาดทุน ถ้าได้คนเก่งคนดีและอยู่ได้นาน แสดงว่าได้กำไร แต่ถ้าได้คนไม่เก่ง ไม่ดีและอยู่กับองค์กรนานไม่ยอมไปไหน แสดงว่ามีแต่ขาดทุนกับขาดทุน การที่ได้คนไม่เก่งไม่ดีเข้ามาทำงาน นอกจากจะไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้แล้ว ยังจะสร้างภาระให้กับองค์กรเพิ่มมากขึ้นอีก ไม่ว่าจะเป็นต้นทุน ศักยภาพของการแข่งขัน การเป็นตัวถ่วงความเจริญ และปัญหาสารพัดที่จะติดตามมา เมื่อเป็นเช่นนี้ หลายๆ องค์กรจึงให้ความสำคัญกับการคัดเลือกคนมากขึ้น มีการใช้เครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยในการทดสอบและคัดเลือก เพื่อให้ได้คนที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ต้องการให้มากที่สุด ข้อดีก็คือ องค์กรจะได้คนที่ต้องการเข้ามาทำงาน ข้อเสียก็คือ เพิ่มความยากลำบากให้กับคนหางานมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ตกงาน คนที่จบมาใหม่ๆ ส่วนคนที่มีงานทำอยู่แล้วคงไม่มีปัญหามากนัก เพราะถ้ายังไม่ได้งานก็ยังสามารถทำงานกับที่ทำงานปัจจุบันต่อไปได้ ตลาดแรงงานในปัจจุบัน...