บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2016

การทำงานเชิงรุก (Proactive)

รูปภาพ
เป็นการทำงานที่มีเป้าหมายสู่อนาคต การทำงานเชิงรุกต้องอาศัยข้อมูลข่าวสาร  หรือประสบการณ์ที่ได้รับมาจากอดีต และที่กำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน โดยกรอบการคิดจะเน้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต เน้นพันธกิจที่ดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว  คุ้มค่าและมีคุณภาพ หรือ เป็นการทำงานที่มีการวางแผนงานล่วงหน้า  อย่างละเอียดรอบคอบ  รู้จักและรับผิดชอบตนเอง  โดยสามารถที่จะเลือกตอบสนองแรงกระตุ้นจากภายนอก  ในมุมมองและคุณค่าของตนเองที่ไม่ยอมตกอยู่ภายใต้อิทธิพลสิ่งแวดล้อมรอบข้างและสถานการณ์ภายนอกบีบบังคับให้ต้องจำใจทำ  รวมถึงมีสติไม่จมปลักอยู่กับปัญหา  แต่ตอบสนองด้วยสติ การทำงานเชิงรับ (Reactive) เป็นการกระทำเมื่อสถานการณ์บีบบังคับให้ตอบสนอง ในบางครั้งอาจมีความรู้สึกเข้าเกี่ยวข้องด้วย  เมื่อเกิดข้อผิดพลาดจะโทษสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ โดยไม่พิจารณาตนเองเป็นหลัก ลักษณะ(ที่สำคัญ)ของการทำงานเชิงรุก มีการวางแผนล่วงหน้า บริหารจัดการด้วยวิจารณญาณ  ด้วยความรอบคอบ สามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ด้วยข้อมูลที่มีอยู่ สามารถตอบสนองความต้องการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็

คนแบบไหนที่เรียกว่ามืออาชีพ

รูปภาพ
ในชีวิตการทำงานของทุกคนล้วนคาดหวังอยากก้าวหน้าในอาชีพที่ตนทำอยู่ คุณเคยสังเกตไหมว่า รอบตัวคุณมีใครบ้างที่ทำงานอย่างมืออาชีพ คนที่คุณอยากยึดเป็นต้นแบบ คนเหล่านั้นมีลักษณะอย่างไร และทำอย่างไรคุณจึงจะเป็นมืออาชีพอย่างนั้นได้บ้าง หากคุณอยากทำงานได้อย่างมืออาชีพแล้วล่ะก็ ก่อนอื่นคุณควรรู้ว่า คนแบบไหนที่เรียกว่ามืออาชีพ ดังนี้ มืออาชีพนำความชำนาญของตนมาเป็นเครื่องมือในการทำงาน มืออาชีพทำงานเต็มศักยภาพที่มี มืออาชีพไม่หยุดเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มืออาชีพมักทำงานเกินความคาดหวังเสมอ มืออาชีพทำตามที่พูด และพูดในสิ่งที่ทำได้ มืออาชีพสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าการพูดหรือการเขียน มืออาชีพทำงานอย่างซื่อสัตย์ ยุติธรรม และมีจรรยาบรรณ มืออาชีพเคารพในกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มืออาชีพยกย่องเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่ยกย่องตนเอง มืออาชีพรู้จักแบ่งปันความรู้ให้ผู้อื่น มืออาชีพรู้จักขอบคุณผู้อื่น มืออาชีพมีทัศนคติที่ดีในทุกสถานการณ์ เมื่อทราบกันแล้วว่าคนแบบไหนที่เรียกว่ามืออาชีพ ดังนั้น เพื่อความก้าวหน้าและประสบความสำเร็จได้ตามที่ใฝ่ฝันไว้ เรามาเริ่มต้นทำงานอย่างมืออาชีพตั้งแต่วันนี้กันนะ

พฤติกรรมพนักงานที่สมควรได้รับบทลงโทษ

รูปภาพ
พนักงานคนไหนทำดีก็ควรได้รับเสียงปรบมือ หรือได้รางวัลเป็นขวัญกำลังใจ แต่ถ้าหากพนักงานคนไหนทำไม่ดี ก็ควรได้รับการตักเตือน เพื่อไม่ให้เกิดการทำผิดซ้ำสอง หรือเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับพนักงานคนอื่นๆ เมื่อใดก็ตามที่มีการให้รางวัลพนักงาน หรือสร้างบทเรียนให้เห็น พนักงานก็จะรับรู้ได้ว่าสิ่งใดควรทำ และสิ่งใดไม่ควรทำ แต่ถ้าไม่รู้เจ้านายก็ควรจะชี้แจงให้รู้ว่าสิ่งที่ควรทำคืออะไร เป็นที่เข้าใจโดยทั่วกันว่าเมื่อพนักงานมีพฤติกรรมที่สมควรได้รับคำชม เจ้านายก็จะให้รางวัล แล้วพนักงานก็จะเกิดการจดจำ และทำสิ่งเหล่านั้นอีกครั้ง พวกเขาอาจไม่ได้ทำเพื่อหวังผลรางวัล แต่ทำเพราะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและสามารถทำได้ อีกทั้ง เจ้านายก็จะเกิดความไว้วางใจ แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีพนักงานที่ไม่เคยทำความผิด อาจจะมีบ้างบางครั้งที่ทำผิดโดยไม่ได้ตั้งใจ ในฐานะของเจ้านายซึ่งเป็นตัวแทนขององค์กร ต้องไม่ปล่อยให้การกระทำผิดของพนักงานเกิดขึ้น แม้ว่าจะเป็นเรื่องเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าหากถูกปล่อยผ่านเรื่องเล็กน้อยเหล่านั้น อาจกลายเป็นความผิดร้ายแรงได้ เจ้านายจึงควรหาวิธีจัดการและป้องกันความผิดเหล่านั้น โดยเริ่มสังเกตและพ

รับมืออย่างไรเมื่อทำงานพลาด

รูปภาพ
การทำงาน คุณเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่ให้เกิดความผิดพลาด แต่คุณจะทำอย่างไรให้พลาดน้อยที่สุด ความผิดพลาดบางทีก็ช่วยให้เราไม่หลงทาง อย่างน้อยเราควรจะขอบคุณสิ่งผิดพลาด เพราะมันกำลังบอกเราว่านี่ยังไม่ใช่เส้นทางที่ถูกต้อง ควรเปลี่ยนเส้นทางเสียใหม่.. และเมื่อคุณทำผิดก็ขอให้ยอมรับความผิดพลาดนั้น อย่าพยายามพูดแก้ตัวเพื่อลดความผิดพลาดนั้นให้น้อยลง เพราะมันไม่มีประโยชน์เลย แล้วรีบหาทางแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นโดยเร็ว เรามีคำแนะนำในการทำงานเพื่อลดข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นมาฝากค่ะ การยอมรับข้อผิดพลาด ถือเป็นอันดับแรก อย่างที่กล่าวไว้ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่ง เพราะเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นสิ่งแรกที่เห็นคือคนที่รับผิดชอบงานนั้นๆ นั่นก็คือตัวเราเอง เราก็ควรยอมรับผิดและกล่าว ขอโทษ พร้อมรีบหาแนวทางแก้ไขต่อไป ทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมหาแนวทางแก้ไขโดยเร็วพลัน คิดทบทวนถึงสาเหตุปัญหาที่เกิดขึ้น ข้อผิดพลาดที่เกิดจากสาเหตุ ข้อบ่งพร่องตรงไหน แล้วหาแนวทางแก้ไขโดยเร็ว เพื่อให้งานที่มีปัญหานี้ถูกปรับปรุงและดำเนินการต่อไปอย่างถูกต้องนั่นเอง หาผู้รู้ช่วยแก้ปัญหา หากเราไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้เอง หรือ

สาเหตุที่ลูกค้าร้องเรียน

รูปภาพ
สาเหตุมาจากพนักงานผู้ให้บริการ 1. พนักงานพูดจาไม่สุภาพ มองลูกค้าด้วยหางตา ไม่สนใจลูกค้า 2. ให้บริการล่าช้า ไม่ได้รับบริการทันที เช่น ขณะที่ให้บริการก็มีการทำงานอื่น หรือพูดคุย กับเพื่อนร่วมงาน แต่งหน้าต่อหน้าลูกค้า 3. เกิดความผิดพลาดขณะที่ให้บริการ เช่น การเขียนชื่อลูกค้าผิด เสียเวลาในการ แก้ไข 4. ได้รับการสื่อสารจากพนักงานไม่ตรงกัน 5. บริการไม่ยุติธรรม พนักงานปล่อยให้ลูกค้ารายอื่นแซงคิวลูกค้าที่กำลังรอรับ บริการอยู่ 6. พนักงานไม่มีความรู้ เมื่อลูกค้าสอบถาม พนักงานก็ไปสอบถามจากเพื่อนทุก ครั้ง ไม่สามารถให้คำตอบได้ด้วยตัวเอง สาเหตุมาจากตัวสินค้า/บริการ 1. สินค้าหรือบริการไม่ดี ไม่มีคุณภาพ ซึ่งไม่ตรงกับการโฆษณาที่ลูกค้ารับรู้ 2. ขั้นตอนการบริการหลายขั้นตอน ทำให้เกิดความล่าช้าในการรอคอย  ทั้งด้านเอกสารและการขออนุมัติจากผู้บริหาร 3. มีแต่เครื่องบริการอัตโนมัติ หาตัวผู้ให้บริการไม่ได้ในการเกิดปัญหากับลูกค้า สาเหตุมาจากตัวลูกค้า 1. มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อพนักงานให้บริการ เช่น เกลียดขี้หน้าพนักงาน  ซึ่งทำให้การบริการไม่ดีในการรับรู้ของลูกค้า 2. มาจากนิสัยส่วนตัว

การทำงานอย่างชาญฉลาด (Working SMART)

รูปภาพ
การประสบความสำเร็จในงาน ไม่ได้อยู่ที่คุณทำงานหนักเพียงใด แต่อยู่ที่คุณทำงานได้อย่างชาญฉลาด หรือ Smart แค่ไหน อย่าแค่พยายามทำตัวให้ busy ตลอดเวลา เหมือนกับมดที่มัน วิ่งวุ่นๆ แต่ควรจะรู้ว่า คุณกำลัง busy อยู่กับเรื่องอะไร การจัดสรรเวลาการทำงานคนเราอาจจะจัดได้ 5 สไตล์ ลองดูสิว่าเราอยู่ประเภทไหน 1. ทำสิ่งที่เร่งด่วน หรือเสียงดัง ก่อน (Urgent - Loud things first) ในชีวิตการทำงานของเรา เราก็ต้องเจอเสียง complaint หรือ request ต่างๆที่เข้ามาซึ่ง แต่ละเรื่องก็ บอกว่าเป็นเรื่องด่วนๆ ทั้งนั้น หรือเป็นเรื่อง ที่มาจากคนที่มีเสียงดัง บางอย่างก็เป็น เรื่องเร่งด่วนจริงที่เราควรให้เวลากับมัน แต่บ่อยครั้งมันก็ไม่ด่วนจริง ดังนั้นเราต้องเรียนรู้ ที่เข้าใจอย่างแท้จริงว่า เรื่องใดที่เราสมควร ให้เวลากับมัน เรื่องใดที่คนอื่น สามารถทำได้ หรือ เรื่องใดที่ไม่ว่าให้เวลากับ มันเท่าไรก็ไม่เกิดประโยชน์  แยกแยะให้ได้ว่าเรื่องใด ด่วนจริง หรือ ไม่ด่วนจริง 2. ทำสิ่งยากๆ ก่อน (Unpleasant - Hard things first) บางครั้งคนเราก็มีเหตุจูงใจ ที่คิดว่าการทำงานยากๆก่อน เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือท้าทาย ดังนั้นธรรมช

พนักงานแบบใดที่หัวหน้าไม่ควรมองข้าม

รูปภาพ
ในแต่ละองค์กรต่างก็มีพนักงานหลากหลายประเภททำงานร่วมกัน มีทั้งคนที่โดดเด่นเป็นพิเศษและทั้งคนที่ดูธรรมดาแต่มีความสามารถ ในฐานะหัวหน้าเราควรจะต้องแยกแยะให้ได้ว่าลูกน้องคนไหนมีฝีมือจริง หรือมีความสามารถซ่อนอยู่เพียงแต่รอคนสนับสนุนและขัดเกลา สำหรับคนที่โดดเด่นอยู่แล้วคงไม่ยากที่จะสังเกตเห็น แต่ยังมีพนักงานแบบใดอีกหรือไม่ ที่หัวหน้าทั้งหลายไม่ควรมองข้าม พนักงานอายุน้อยหรืออายุงานน้อย พวกเขาเป็นกลุ่มที่อาจเรียกได้ว่ามีไฟในการทำงานมากที่สุดเป็นลำดับต้นขององค์กร พนักงานกลุ่มนี้กำลังพยายามสร้างผลงานเพื่อการยอมรับ ดังนั้นหัวหน้าควรเปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงฝีมือบ้าง จริงอยู่ที่งานบางอย่างอาจต้องอาศัยประสบการณ์แต่คุณสามารถเริ่มจากการให้พวกเขาได้ทำงานร่วมกับพนักงานที่มีอายุงานมากกว่า และคอยติดตามดูว่าพวกเขาเรียนรู้ได้เร็วแค่ไหน หรือมีความตั้งใจเพียงใด อย่ามองคุณค่าคนอยู่ที่เพียงอายุหรือประสบการณ์การทำงานเพียงอย่างเดียว หากคุณสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานกลุ่มนี้ได้ตั้งแต่ช่วงแรกของการทำงาน พวกเขาจะกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่า มีฝีมือ จะรักและภูมิใจที่ได้อยู่กับองค์กรที่เห็นคุณค่าในตัวพวกเข

9 สิ่งเล็กๆ ที่คนจะใช้ตัดสินบุคลิกภาพของคุณ

รูปภาพ
ในเวลาที่คนสองคนได้พบรู้จักกันไม่ว่าจะเป็นวันหรือการสัมภาษณ์งาน พวกเขาก็ต่างมองหาสิ่งที่สามารถวัดคุณภาพของคุณอยู่ไม่ว่าจะเป็น ความซื่อสัตย์ ความฉลาดเฉลียว และความไม่เห็นแก่ตัว Business Insider ได้ทำการสำรวจกับ Quora ในหัวข้อ "อะไรคือสิ่งเล็กๆ ที่จะสามารถบอกเกี่ยวกับหลักจิตวิทยาและบุคลิกภาพของบุคคลได้?" และจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ล่าสุด มีบางส่วนที่สามารถบ่งบอกถึงพฤติกรรมต่างๆ ที่คนส่วนมากใช้ตัดสินคุณ 1. การจับมือ (Handshake) การจับมือด้วยความมั่นใจ แข็งแกร่งสะท้อนให้เห็นถึงคนที่มีความมุ่งมั่น ในทางตรงข้ามหากในขณะที่จับมือถ้าประหม่า มันก็แสดงว่าว่าคุณขาดความมั่นใจ ไม่มุ่งมั่น การจับมือเป็นสิ่งง่ายๆ ที่จะใช้มองลักษณะของคน ซึ่งตรงกับงานวิจัยที่ว่าการจับมือของคุณสามารถที่จะเปิดเผยบางแง่มุมของบุคลิกภาพของคุณได้ 2. การตรงต่อเวลา (Punctuality) เป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากคุณไปนัดสายในวันสำคัญ คนที่เป็นฝ่ายรอคุณก็คงจะเกิดความรู้สึกไม่ดี มองคุณในแง่ลบ 3. ลายมือ (Handwriting) ไม่ว่าคุณจะเขียนรายงานที่ต้องทำ หรือจดโน้ต ลายมือของคุณสามารถบ่งบอกถึงลักษณะของคุณได้

8 ข้อคิดเพิ่มประสิทธิภาพหัวหน้างาน

รูปภาพ
ยิ่งบริษัทขยายตัวมาก ขึ้นเท่าไหร่ ดูเหมือนว่าสิ่งต่างๆ ก็เริ่มไหลเข้ามามากขึ้น ตั้งแต่อีเมล เอกสาร การประชุม ไปจนถึงพนักงาน เมื่อเรามาถึงจุดหนึ่งที่ไม่สามารถดูแลได้ทุกสิ่งทุกอย่าง เราควรแน่ใจก่อนว่าจะให้เวลากับสิ่งใดบ้าง ประสบการณ์ที่เราได้รับการบอกเล่าทั้ง 8 ประการต่อไปนี้เป็นของเจ้าของกิจการรุ่นใหม่ๆ ที่เจอปัญหาคล้ายๆ กัน เราเชื่อว่าบางข้อน่าจะเป็นประโยชน์กับคุณ 1. อย่าบั่นทอนเวลางาน ด้วยตารางงาน Jason Fried ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท 37 Signals เล่าให้เราฟังว่า “ถ้าเป็นไปได้เราจะไม่ค่อยเรียกประชุมถ้าไม่จำเป็น เพราะส่วนตัวผมเองไม่ชอบการประชุม มันทั้งเปลืองและเสียเวลาเปล่า และกลายเป็นว่าเวลาประชุมเหล่านั้นคอยเฉือนเวลาว่างของเราออกให้เป็นห้วงๆ จนเหลือตรงนั้น 20 นาที ตรงนี้ 45 นาทีตลอดเวลาจนแทบทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันไม่ค่อยได้เลย เวลาสร้างสรรค์งานบางทีมันจำกัดเวลาลงไม่ได้ อีกอย่าง ก็คือ ถ้ารู้ว่ามีเวลาแค่ภายใน 20 นาที คุณก็คงคิดอะไรไม่ออกอยู่ดี” “ผมไม่ตั้งนาฬิกาปลุกแต่พยายามตื่นเอง ไม่ได้หยิบโทรศัพท์มือถือมาดูว่ามีอีเมลเข้ามาหรือไม่ทุกเช้า และแทนที่ผมจะทำอย่างนั้น ผมจะไปชงชา จัดการ