บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2015

ตัวอย่างแบบฟอร์มการประเมินผลงาน

รูปภาพ
เมื่อตอนที่ผมยังเด็กว่ายน้ำไม่เป็น ผมก็สังเกตดูว่าคนอื่นที่ว่ายน้ำไปมานั้นว่ายกันยังไงคนไหนที่ดูดี ท่าสวย ผมก็จะพยายามเลียนแบบทำตาม เมื่อผมโตขึ้นและเข้าเรียนคอร์สว่ายน้ำผมจึงรู้ว่าที่ผมเห็นว่า ท่าสวยดูดีนั้นมันผิด! เมื่อหลายวันก่อน ผมท่องเว็บไปก็ได้เห็นว่ามีผู้ร้องขอให้ใครก็ตามที่มีแบบฟอร์มประเมินผลงานช่วย ส่งมาให้หน่อย บางคนอยากได้แบบ KPI บางคนอยากได้แบบใช้ Competency บางคนก็ไม่ได้บอกว่าอยาก ได้แบบไหน ขอให้ส่งมาเถอะ จะดูเป็นตัวอย่างและจะไปปรับใช้ในองค์กรของตน ประเด็นที่ผมอยากจะแชร์คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแบบฟอร์มที่ผู้หวังดีส่งมาให้นั้น เป็นฟอร์ม ที่ผิดหรือถูก เหมือนอย่างที่ผมคิดว่าคนนั้นคนนี้ว่ายน้ำท่านั้นสวยเราก็เลียนแบบเอาบ้าง-แต่กลาย เป็นว่าเลียนแบบที่ผิดๆ มา แบบฟอร์มที่เราได้มานั้นออกแบบโดยใคร? ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญหรือเปล่า หรือผู้ออกแบบใช้สามัญสำนึก ความชอบ คุย ๆ กันภายในแล้วก็สรุปออกมา หรืออาจจะโทรหาเพื่อนขอแบบฟอร์มที่บริษัทเพื่อนใช้อยู่ ได้มาแล้วก็ลบชื่อบริษัทเพื่อนเสีย แล้วใส่ชื่อบริษัทของตัวเองลงไป แค่นี้ก็สำเร็จเรียบร้อย!?!? และถึงแม้แบบฟอร์มที่เราได้มาน

เครื่องมือการประเมิน Competency ของผู้สมัคร?

รูปภาพ
ถ้ามองในแง่ของสื่อของคนในสังคมออนไลน์แล้ว Facebook ถือเป็นหนึ่งทางเลือกที่ดีทางเลือก หนึ่งในการติดต่อสื่อสาร การสร้างเครือข่าย การเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การระบายอารมณ์ การเปิดเผยตัวตนให้คนอื่นรู้จัก การเชื่อมโยงเครือข่ายมิตรภาพตั้งแต่ระดับเพื่อนร่วมสังคมออนไลน์ ที่สนใจเรื่องบางเรื่องเหมือนกัน จบจากสถาบันเดียวกัน เคยทำงานองค์กรเดียวกัน ฯลฯ จนพัฒนาไปสู่มิตรภาพของเพื่อนสนิทหรือกลายเป็นเพื่อนคู่ชีวิตกันไปแล้วก็มี ในฐานะที่ผมเคยทำงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์มาก่อน จึงคิดว่าคนทำ งานด้าน HR  น่าจะใช้ Facebook ให้เป็นประโยชน์ใน การทำงาน ได้มากกว่าแค่การประกาศรับสมัครงานหรือโพสต์ ลิงก์ไปยังเว็บ สมัครงาน ของบริษัทฯ และเท่าที่ได้อ่านสิ่งที่คนใน FB เขียนพบว่ามีหลายประเด็นที่น่าจะนำมาใช้ประโยชน์ ในการคัดเลือกบุคลากรได้ โดยเฉพาะการประเมินสิ่งที่ไม่ใช่ความรู้และทักษะ ในงานแต่เป็นสิ่งที่แสดงออกถึง นิสัยใจคอ บุคลิกลักษณะ ความเชื่อ วิธีคิด ทัศนคติ สังคม ผมคิดว่าเราน่าจะนำมาประกอบการพิจารณาเพื่อคัดเลือกคนเข้าทำงานได้บ้าง เช่น ดูจากรูปประจำตัว รูปประจำตัวของคนน่าจะบอกอะไ

องค์กรที่คนเก่งรุ่นใหม่อยากอยู่นาน

รูปภาพ
ในช่วงหนึ่งปัญหาใหญ่ขององค์กรต่างๆ คือ  “หาคนเก่งยาก”  จึงทำให้เกิดธุรกิจนายหน้าสรรหาคลากร หรือที่เรียกกันว่า Head Hunter หรือ Recruitment Agency เยอะแยะมากมาย ซึ่งก็พอช่วยทำให้ปัญหาการหา คนเก่งลดลงไปได้ระดับหนึ่ง นอกจากนี้ความทันสมัยของเทคโนโลยีอินเตอร์ที่ทำให้คนทำงานเข้าถึงองค์กร และองค์กรเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการทำได้ง่ายขึ้น ปัญหาการหาคนเก่งให้เจอจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แต่ในปัจจุบันและอนาคตปัญหาที่ใหญ่กว่าและยากกว่าการหาคนเก่งๆมาร่วมงานคือ  “การรักษาคน เก่งให้อยู่กับองค์กรนานๆ ”  เพราะคนรุ่นใหม่เกิดมาพร้อมกับความสะดวกสบายทำให้คนรุ่นใหม่ลักษณะ แตกต่างจากคนรุ่นก่อนๆ หลายอย่างเช่น • ชอบเรียนรู้ด้วยตัวเองมากกว่าการให้คนอื่นสอน เพราะเด็กรุ่นใหม่ไม่เคยถามพ่อแม่ว่าเล่นเกมส์อย่างไร แต่เขาจะใช้วิธีเรียนรู้ด้วยตัวเองมาตั้งแต่เด็ก • อยากประสบความสำเร็จเร็วกว่ามากกว่าคนรุ่นก่อนและคนรุ่นเดียวกัน เพราะมีคนรุ่นใหม่ๆที่ประสบ ความสำเร็จทั้งๆที่อายุยังน้อยเป็นไอดอลหรือเป็นโมเดลออกมากระตุ้นอยู่ตลอดเวลา • อยากทำงานสบายแต่ได้เงินดีมีชื่อเสียง จะเห็นได้จากการประกวดร้องเพลง การแสด

5 ขั้นตอนบริหารเวลาแบบมหาเศรษฐี

รูปภาพ
1. ตรงเวลาเสมอ – เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราใส่ใจเวลาของทั้งตัวเองและผู้อื่น ทำให้ทราบกรอบเวลาของกิจกรรมต่างๆอย่างชัดเจนและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ลงมือทำทันที – การทำทุกสิ่งเลยทันทีที่นึกขึ้นได้ช่วยให้งานสำเร็จลุล่วงเร็วกว่าเดิม นอกจากนี้ยังไม่เปลืองพลังงานและเวลาโดยใช่เหตุอีกด้วย 3. อย่ากลุ้มกับสิ่งที่คุมไม่ได้ – การควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของตนเองได้ ช่วยให้ไม่จมปลักอยู่กับเรื่องกลัดกลุ้มใจและพร้อมเปิดโอกาสเริ่มต้นกับสิ่งใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งส่งผลดีต่อการออมเงินด้วย 4. อย่าใช้คำว่า “ยุ่ง” เป็นข้ออ้าง – คำสั้นๆคำนี้ หมายถึงว่า เราปล่อยให้ผู้อื่นมาคุมเวลาและมีอิทธิพลเหนือเรา ดังนั้นจึงควรมอบหมายงานให้ผู้อื่นทำตามสมควร เพื่อการมีสมาธิจดจ่อกับงานที่ต้องเน้นคุณภาพได้อย่างเต็มที่ และใช้เวลาอันน้อยนิดให้เกิดประโยชน์สูงสุด 5. ไม่พักผ่อนแบบครึ่งๆ กลางๆ – การพักผ่อนจำเป็นต่อการถนอมสุขภาพและฟื้นพลังใจ ฉนั้นจึงควรเร่งสะสางงานให้เสร็จแลกกับการได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ แม้เพียงสั้นๆก็ตาม ที่มา : หนังสือ ความลับมหาเศรษฐี คนแบบนี้แหละ ดึงดูดเงิน สำนักพิมพ์ Amarin How To
รูปภาพ
การเพิ่มความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานอาจจะเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ทุกองค์สามารถทำได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในหลายๆครั้งเราพบว่ากิจกรรมบางอย่างเราสามารถทำได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือมีต้นทุนต่ำ ดังนั้นจึงไม่มีข้ออ้างใดๆ ที่จะไม่ทำ แนวทางต่อไปนี้เป็นไอเดียสำหรับไปต่อยอดทำกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานให้เพิ่มสูงขึ้น  มีการสื่อสารเพื่อความโปร่งใสในองค์กร   สร้างเครือข่ายสังคมภายในองค์กร   การโค้ช   มีการสำรวจความพึงพอใจทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ   กำจัดความกลัวในใจพนักงาน   แสดงความเคารพและให้เกียรติ   ให้คำยกย่องชมเชย   จัดให้มีชีวิตการทำงานที่สมดุล   จัดงานให้สอดคล้องกับเป้าหมาย   ให้อิสระในการทำงาน   เสนอให้มีตารางเวลาทำงานที่ยืดหยุ่น   ส่งเสริมการออกกำลังกาย   จัดสภาพแวดล้อมการทำงานให้น่าอยู่   จัดให้มีสวัสดิการที่ดี   มอบหมายงานที่มีความท้าทาย   ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน   อย่ากล่าวโทษพนักงานต่อหน้าคนหมู่มาก   เข้าใจเหตุผลเมื่อพนักงานมาสาย   มีความสุภาพ   ช่วยวางแผนเติบโตในอาชีพ   ยกเลิกข้อห้ามที่ไม่มีความจำเป็น   ให้การสนับสนุนเมื่อมีควา

หลักสูตรฝึกอบรม การรับมือกับปัญหาของลูกค้า (Customer Complaint Handling and Service Recovery)

รูปภาพ
เป็นหลักสูตรที่เรียนรู้ถึง เทคนิควิธีการรับมือกับข้อร้องเรียน และการแก้สถานการณ์ให้ลูกค้าที่โกรธ กลับมารู้สึกดี ทั้งตัวพนักงานและองค์กร ด้วยการพัฒนาทักษะ และฝึกปฏิบัติในการรับมือกับปัญหา ไม่ว่าจะมีสาเหตุจากความผิดพลาดขององค์กร หรือจากลูกค้าเอง วัตถุประสงค์ - เพื่อเป็นการเรียนรู้การรับมือกับลูกค้าในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมืออาชีพ - เพื่อให้เกิดมาตรฐานของการรับมือกับคำร้องเรียน หรือ ปัญหาของลูกค้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกพอใจได้อย่างรวดเร็ว - เพื่อเป็นการสร้างทักษะในการจัดการเรื่องร้องเรียนให้เกิดแก่พนักงานทุกระดับ - เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการข้อร้องเรียนที่ดี - เพื่อให้รู้แนวทางในการนำเรื่องร้องเรียน ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ - เพื่อปรับทัศนคติในการจัดการเรื่องร้องเรียน หัวข้อการอบรม/กำหนดการ - ขั้นตอนการรับมือกับลูกค้าที่โกรธ - เทคนิคการชดเชยความรู้สึกให้ลูกค้า จากการร้องเรียนให้กลายเป็นความประทับใจ - ความสำคัญของการจัดการข้อร้องเรียน - ทำไมต้องมีการจัดการเรื่องร้องเรียนที่ดี - ผลของการจัดการเรื่องร้องเรียนที่ดีและไม่ดี