ลูกน้องไม่รับผิดชอบจัดการอย่างไร


ปัญหาเรื่องพนักงาน ที่ทำให้หัวหน้างานต้องนั่งกุมขมับ ปวดหัวกับการหาวิธีมาจัดการ คือ ปัญหาลูกน้องควบคุมยาก ไม่เชื่อฟัง ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือไม่มีความรับผิดชอบ ซึ่งปัญหาข้อสุดท้ายนี้มีผลกระทบต่องาน ต่อเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนร่วมทีมที่ต้องทำงานต่อ เกิดปัญหา งานสะดุด ถึงแม้ว่าจะได้ว่ากล่าวตักเตือนไปแล้วก็ตาม แต่เหมือนกับว่าจะไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นเลย ก่อนที่จะหมดความอดทนกับลูกน้องที่ไม่มีความรับผิดชอบกันไปซะก่อน แนะนำให้คุณลองทำตามวิธีการต่อไปนี้

1. ย้ำกติกาในการทำงาน

ทบทวนหน้าที่ความรับผิดชอบให้เขารับทราบ บอกความคาดหวังที่คุณมีต่อเขา รวมถึงวิธีการวัดผลการทำงานของเขา เพื่อดึงเขากลับมาเดินตามกติกาที่วางไว้

2. เลือกวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม

มีคำ 4 คำที่หัวหน้างานควรจดจำและเลือกใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์นั่นคือ Fight, Friend, Face and Forget เราไม่สามารถที่จะใช้ไม้แข็งเข้าห้ำหั่นได้ทุกครั้ง บางครั้งเราก็ต้องใช้ไม้อ่อนบ้าง ไม้นวมบ้างสลับกันไปตามความเหมาะสม

3. เปิดโอกาสให้เขาพูด

หาโอกาสพูดคุยกับลูกน้องแบบเปิดใจว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมเขาจึงทำตัวแบบนั้น โดยการพูดคุยครั้งนี้ คุณควรทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดี มากกว่าที่จะเอาแต่ตำหนิลูกน้อง

4. ตัดเนื้อร้าย

บางครั้งไม่มีประโยชน์ที่จะสู้กับคนประเภทนี้ หากคุณเหนื่อยที่จะพูด และเบื่อกับการพยายามแก้ไขพฤติกรรมของเขาที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ก็ไม่ต้องพยายามอีกต่อไป ปล่อยเขาไปมีชีวิตตามที่เขาต้องการดีกว่า ส่วนคุณจะได้เอาเวลาไปดูแลและให้คำปรึกษากับลูกน้องคนอื่นๆ ที่เป็นกำลังสำคัญของทีมต่อไป

5. คิดก่อนทำ

บ่อยครั้งที่หัวหน้าตัดสินลูกน้องที่เขาไม่พอใจง่ายเกินไป ควรคิดให้ดีว่า จริงๆ แล้วคุณต้องการให้เขาออก หรือยังต้องการตัวเขาอยู่ ชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีกับข้อเสียกับข้อเสียของเขา เพราะในเรื่องอื่นๆ เขาอาจทำได้ดีเยี่ยมก็ได้ เมื่อชั่งน้ำหนักดีแล้วจึงค่อยตัดสินใจเด็ดขาดว่า คุณยังต้องการเขาอยู่หรือไม่

cr : th.jobsdb.com
ความรู้อื่นๆ เพิ่มเติม ได้ที่ www.impressionconsult.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 มิติคุณภาพบริการ

10 มิติคุณภาพบริการ

เทคนิคมีบุคลิกภาพที่ดีในที่ทำงาน