อยากก้าวหน้า ต้องกล้าเรียนรู้ความล้มเหลว


ความล้มเหลวไม่ได้มีแต่ข้อเสีย คนที่ทำผิดพลาด คนที่พบกับความล้มเหลว ไม่จำเป็นต้องพ่ายแพ้เสมอไป ทุกคนล้วนเคยทำผิดพลาดกันทั้งนั้น
แต่พลาดแล้ว ล้มแล้ว จะทำอย่างไรต่อไป จะลุกขึ้นได้เร็วแค่ไหน จะพัฒนาการทำงานได้อย่างไร หากเรายอมรับและรู้จักเรียนรู้จากบทเรียนความล้มเหลว เราก็จะเติบโตขึ้น มีโอกาสประสบความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกล เพราะความมั่นใจไม่ได้เกิดจากการที่เราทำถูกเสมอไป แต่อยู่ที่การไม่กลัวที่จะทำผิดต่างหาก
เราจะสามารถเรียนรู้จากความล้มเหลวได้อย่างไรบ้าง

1. กล้าเสี่ยง

คนบางคนกลัวความล้มเหลว จึงไม่กล้าก้าวออกจาก Comfort Zone ที่ตัวเองยืนอยู่ แม้จะไม่ผิดพลาด แต่ก็ไม่มีอะไรก้าวหน้า เพราะไม่เคยลองเสี่ยง ลองทำสิ่งใหม่ๆ
ลองนึกถึงคนที่มีชื่อเสียงอย่างนักวิทยาศาสตร์ ผู้นำ นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เขาเหล่านั้นเคยผ่านความล้มเหลวมาก่อนทั้งนั้น หากคุณอยากประสบความสำเร็จคุณต้องกล้าเสี่ยง และไม่กลัวความล้มเหลว เปิดโอกาสให้ตนเองได้เรียนรู้บทเรียนความล้มเหลว เพื่อก้าวไปสู่บทเรียนของความสำเร็จในวันข้างหน้า

2. ล้มบ้างก็ได้

มองความล้มเหลวให้เป็นเรื่องปกติ เพราะไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบไปเสียทุกอย่าง วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะเรียนรู้คือการเปิดตา เปิดหู และเปิดใจ ทำความเข้าใจกับความผิดพลาด เรียนรู้ว่าสิ่งไหนที่ทำดีแล้ว สิ่งไหนที่ควรทำให้ดีกว่าเดิม และสิ่งไหนที่ไม่ควรทำอีกนั้น ใช้ความล้มเหลวในครั้งนี้เป็นบทเรียนเพื่อทำให้ดีขึ้นในครั้งต่อๆ ไป

3. ประสบการณ์คือครูที่ดีที่สุด

หากคุณยอมรับว่า ประสบการณ์คือครูที่ดีที่สุดแล้วล่ะก็ คุณควรยอมรับความล้มเหลวเป็นครูของคุณด้วย เพราะหากคุณไม่เคยทำอะไรผิดพลาดเลย คุณจะไม่มีวันรู้หรอกว่าคุณมีข้อเสียอะไร และยังมีอะไรที่จะต้องปรับปรุงอีกบ้าง เพื่อให้คุณได้พัฒนาตนเองขึ้นไปสู่ความสำเร็จในที่สุด

4. เผื่อใจไว้ล้มเหลว

ไม่มีความสำเร็จใดที่ได้มาโดยง่าย คุณจึงควรเผื่อใจไว้ล้มเหลวด้วย ซึ่งความล้มเหลวนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่คุณจะเรียนรู้ แม้บางครั้งอาจพบบทเรียนราคาแพงไปบ้าง แต่ในระยะยาวคุณจะค้นพบว่ามันมีคุณค่า และเป็นพื้นฐานสำคัญต่อความสำเร็จในอนาคต เมื่อมองย้อนกลับไปจะรู้ว่า หากไม่มีความล้มเหลวในอดีต ก็อาจจะไม่มีคุณที่ประสบความสำเร็จเช่นนี้ในอนาคต

ที่มา : jobsDB
ความรู้อื่นๆ เพิ่มเติม ได้ที่ www.impressionconsult.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 มิติคุณภาพบริการ

10 มิติคุณภาพบริการ

เทคนิคมีบุคลิกภาพที่ดีในที่ทำงาน