สิ่งที่ควรทำเพื่อลดความขัดแย้ง
นิ่งไว้ก่อน
จำไว้เลยว่าเมื่อไหร่ที่เถียงกลับคู่สนทนาในซึ่งอยู่ร่วม Office เดียวกัน เมื่อนั้นคุณก็เปิดทางให้อารมณ์เข้ามาอยู่เหนือเหตุผลแล้ว ถ้าคุณรู้จักว่าคนไหนในบริษัทเป็นพวกเจ้าอารมณ์ หากจำเป็นต้องสนทนากัน ควรตอบโต้ให้น้อยที่สุด ปล่อยเขาพูดไปก่อน เพื่อให้เขาได้ระบาย ส่วนคุณก็ใช้แผนสงบสยบเคลื่อนไหว เพราะเมื่อคนของกำลังขึ้นอุณหภูมิอารมณ์เย็นลง จะคุยอะไรด้วยก็คงง่ายขค่นตามไปด้วย
กันตัวเองไม่ให้ถึงจุดเดือด
นี่เป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับอารมณ์ตัวเอง หากจุดไหนที่กระตุ้นให้โกรธก็เลี่ยงซะหรือกันตัวเองให้ไปถึงจุดนั้น เช่นถ้าต้องไปคุยกับคุณไม่ชอบหน้า และเคยเกิดวิวาทะในบางประเด็นกันมาก่อน ก็ควรเลี่ยงประเด็นร้อนนั้น
ใช้ประโยชน์จาก EQ
ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) หรือที่เรียกย่อว่า EQ นี้จะพิจารณาถึงวิธีที่คุณจัดการความขัดแย้ง สานสัมพันธ์หรือมีปฏิกิริยาต่อเรื่องต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้กันได้ โดยหากใช้เป็นจะเป็นอีกอย่างที่เกิดประโยชน์ต่อการรับมือความขัดแย้งในบริษัท กันไม่ให้ขยายเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเรียกันติดปากว่า Drama นั่นเอง
ถามคนใกล้ตัวจุดไหนบ้างที่คุณต้องปรับ
ทุกคนล้วนมีจุดอ่อนด้านพฤติกรรม อารมณ์และบุคคลิกภาพที่ทำไปโดยแบบลืมตัว จุดบอดเหล่านี้คุณต้องให้ตัวบอกว่ามีตรงไหนบ้าง เช่นคุณอาจคิดว่าวางตัวดีแล้ว แต่เพื่อนร่วมงานกับเห็นว่าคุณทำตัวเย็นชาหรือพูดมากเกินไป เมื่อรู้แล้วให้ปรับปรุงเพื่อให้เผลอทำพลาด เผลอสร้าง Office Drama แบบไม่รู้ตัวและลดการสร้างศัตรู
ไม่ตกเป็นทาสอารมณ์ตัวเอง
ลองนึกย้อนดูว่าอารมณ์แบบไหนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (มีแรงบันดาลใจ ,มุ่งมั่น ,ร่าเริง และสงบ) และอารมณ์ไหนที่ตรงข้าม (โกรธ ,เบื่อ ,กลัว และกังวล) จากนั้นประเมินตัวเองว่าเฉลี่ยแล้วในวันทำงานสัดส่วนอารมณ์ฝั่งดีหรือร้ายมากกว่านั้น และทุกครั้งก่อนคุยกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้า สังเกตุอารมณ์ตัวเองก่อนว่าอยู่ในโหมดไหน ถ้าอารมณ์ยังขุ่นมัวอยู่ ให้ตั้งสติและปรับให้ดีขึ้นโดยด่วน เชื่อเถอะพวกเขาสัมผัสได้ และคงไม่ใครอยากทำงานกับคนเจ้าอารมณ์
ที่มา : marketeer.co.th
ความรู้อื่นๆ เพิ่มเติม ได้ที่ www.impressionconsult.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น