บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2017

บริหารคนให้ทำงาน ต้องวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์

รูปภาพ
การวิจารณ์ที่ดีเป็นไปเพื่อเสริมสร้างและชี้แนะผู้ถูกวิจารณ์ให้เกิดการพัฒนา ไม่ใช่เพื่อจ้องจับผิด หรือต้องการประจานให้เสียหายแต่อย่างใด หากแต่บางครั้งบางคราที่ผู้วิจารณ์มีเจตนาดีแต่ไม่รู้วิธีพูด ความหวังดี จึงกลับกลายเป็นการทำร้ายให้เจ็บช้ำน้ำใจได้โดยไม่รู้ตัว ผู้มีหน้าที่ในการบริหารบุคลากรจึง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักวิธีการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ เรามีแนวทางการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์มาฝาก 1. อย่าเพิ่มค่าของตน ด้วยการลดค่าคนอื่น การที่คุณบอกกับเขาว่า คุณเตือนเขาด้วยความหวังดี เท่ากับว่าคุณกำลังลดค่าของเขาด้วยการจี้จุดอ่อนบางอย่างที่เป็นความผิดในตัวเขา โดยใช้ความหวังดีมาเพิ่มค่าให้กับตัวคุณเอง 2. พูดกันสองต่อสอง การจะวิจารณ์ใดๆ นั้น คุณต้องคำนึงถึงความรู้สึกของเขาก่อนเป็นสำคัญ อย่าทำให้เขารู้สึกอับอายและเสียหน้า ด้วยการวิจารณ์เขาต่อหน้าบุคคลที่สาม และพึงระลึกไว้ว่า คุณต้องให้เกียรติผู้ที่ถูกวิจารณ์เสมอ 3. ต้องรู้จักลูกน้อง ในที่นี้หมายถึง คุณต้องรู้จักนิสัยใจคอ พื้นฐานจิตใจ ความละเอียดอ่อนไหวของลูกน้องแต่ละคน แล้วเลือกวิธีและดีกรีการพูดที่เหมาะสม บางคนอาจต้องใช้...

สิ่งที่จะทำให้ลูกค้าประทับใจ...และบอกต่อ

รูปภาพ
1. บุคลิกภาพของผู้ให้บริการ - แต่งกายด้วยเครื่องแบบพนักงาน (Full Uniform) ที่สะอาด รีดเรียบ สภาพเรียบร้อย ถูกต้องตามแบบที่กำหนด เครื่องประดับมีแต่พอเหมาะ สีสันไม่ฉูดฉาด ระมัดระวังเรื่องกลิ่นอับของเสื้อผ้าและรองเท้า 2. มารยาทของผู้ให้บริการ - ทั้งการยืน, การเดิน, การนั่ง, การไหว้ , สีหน้าของผู้ให้บริการ, การส่งของให้ลูกค้า, การผายมือชี้จุดต่างๆ , การกล่าวทักทาย. การกล่าวคำขอโทษหรือคำขอบคุณ เป็นต้น 3. สถานที่ให้บริการ - ควรรักษาความสะอาด แสงสว่างเพียงพอ เข้าไปแล้วรู้สึกสบาย ไม่ทึบและดูผ่อนคลาย อุณหภูมิไม่เย็นหรือร้อนจนเกินไป การตกแต่งให้เหมาะสมกับประเภทผลิตภัณฑ์ ทางเดินและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ จัดวางอย่างเป็นระเบียบ หยิบจับง่าย มีหนังสือหรือนิตยสาร ที่ทันสมัยบริการ 4. ความถูกต้องในการให้บริการ - พนักงานต้องมีความแม่นยำ ในข้อมูลที่จะนำเสนอลูกค้า พร้อมลำดับขั้นตอนการให้บริการที่ถูกต้อง หากลูกค้าต้องรอคอย ควรแจ้งสถานะให้ทราบเป็นระยะ ความรู้อื่นๆ เพิ่มเติม ได้ที่ www.impressionconsult.com

6 วิธีเอาชนะความกลัวในการนำเสนองานหน้าที่ประชุม

รูปภาพ
“นำเสนองานดีมีชัยไปกว่าครึ่ง”  เคยได้ยินคำนี้ใช่ไหม? แต่ถ้าเกิดมาเป็นคนขี้อาย พูดน้อย ขาสั่นทุกครั้งที่ต้องอยู่ต่อหน้าคนจำนวนมาก พอจะต้องนำเสนองานหน้าที่ประชุมทีไร จะต้องประหม่าขาสั่น มือไม้เย็น พูดติดๆ ขัดๆ ไปซะทุกที เรียกได้ว่า ไม่ถูกกันกับการยืนนำเสนองานต่อหน้าคนเยอะๆ ก็ว่าได้ แบบนี้จะทำอย่างไร เรามี 6 เทคนิคดีๆ มาฝาก 1. เตรียมเนื้อหาให้พร้อมและทำความเข้าใจ อย่างแรก เรามาเริ่มตั้งแต่เรื่องของการ เตรียมเนื้อหาให้พร้อมและทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ เพราะนี่คือจุดเริ่มต้นที่เราต้องการนำเสนอ งานของเรา เราทำ เรารู้ เราเล่า ฉะนั้นไม่ว่าเนื้อหาจะยุ่งยากและซับซ้อนแค่ไหน แต่ถ้าตัวคนทำเข้าใจ มันก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะถ่ายทอด ฉะนั้นก่อนนำเสนองานต่อหน้าที่ประชุม เช็คเนื้อหาให้ดี และทำความเข้าใจให้แม่น เก็บทุกเม็ด ทุกประเด็น เพราะนี่เป็นวิธีการเสริมความมั่นใจชั้นยอดเลยละ 2. จัดเรียงลำดับเนื้อหาที่ต้องการเล่า การนำเสนองานก็เหมือนการเล่าเรื่อง ซึ่งนักเล่าเรื่องที่ดีจะต้องรู้จักการจัดลำดับว่าจะเล่าอะไรก่อนหรือหลัง เพราะแต่ละคนก็จะมีเทคนิคในการเล่าแตกต่างกันไป ฉะนั้นถ้าคุณอ...