วิจารณ์อย่างไรให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด


1. ทำให้มั่นใจว่าคำวิจารณ์ของคุณไม่มีเรื่องอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง

โดยเฉพาะเรื่องที่ค่อนข้างส่งผลกระทบต่ออารมณ์ฝ่ายตรงข้าม หากคุณยิ่งใส่อารมณ์หรือจี้จุดลงไปอีก มีแต่เสียกับเสียครับ ผลลัพธ์ไม่เกิด ความเปลี่ยนแปลงไม่มี แถมความสัมพันธ์ก็ยังแย่ลงอีก เพราะฉะนั้นทำให้มั่นใจว่าคำวิจารณ์ของคุณคือคำวิจารณ์จริงๆ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามได้พัฒนาแก้ไข

2. ให้เจาะจงไปที่สาเหตุ ไม่ใช่ตัวบุคคล

ก็ใช่ที่ผลกระทบนี้มันมาจากตัวเขา แต่ต้นตอที่เป็นปัญหาคือพฤติกรรมหรือแนวคิดที่เป็นสาเหตุนั้นยังไม่เหมาะสม คุณในฐานะผู้นำผู้สนับสนุน คุณต้องมองลึกลงมาที่สาเหตุแล้วเริ่มจากการแก้ไขปัญหาตรงนั้น การกล่าวอา้งอิงบุคคลมันมีแต่ให้ความรู้สึกกล่าวโทษ ไม่ดีต่อความสัมพันธ์แน่นอนครับ

3. และต้องแยกสาเหตุปัญหานั้นออกจากสิ่งดีๆ ของบุคคลนั้นให้ชัดเจน

ไม่งั้นอีกฝ่ายจะเหมารวมเข้าใจว่าตัวเค้าไม่ดี และก็หยุดพัฒนาไปเสียดื้อๆ ทั้งที่จริงแล้วเรื่องที่คุณวิจารณ์(อย่างผิดๆ)นั้นอาจจะเป็นแค่เรื่องเดียวที่ไม่ดีในชีวิตของเขาก็ได้

4. จะวิจารณ์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องให้คำแนะนำด้วย

การวิจารณ์โดยไม่มีคำแนะนำมันก็คือคำตำหนิดีๆ นี่แหละครับ หลายครั้งเจ้าตัวรู้อยู่แล้วว่าอะไรที่ทำได้ไม่ดี แต่ที่ยังไม่แก้ไขหรือยังขาดอยู่คือ แนวทางหรือวิธีที่จะพัฒนาตัวเองต่างหาก ...ก็ใช่ครับ บางคนขวนขวาย บางคนไม่ แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น เพราะหน้าที่ผู้นำคือชี้แนวทาง ท้ายที่สุดคุณต้องให้เค้าตัดสินใจ ไม่ใช่บังคับ

5. วิจารณ์ตอนไหนก็สำคัญ

โดยเฉพาะการวิจารณ์ส่วนตัว คุณก็ต้องให้สภาพแวดล้อมมันส่วนตัว และไม่ใช่ว่าจะวิจารณ์ตอนไหนก็ทำได้ อย่ามาอ้างสิทธิความเป็นหัวหน้าหรือคนจ่ายเงินเดือน เพราะลูกน้องก็คือมนุษย์คนหนึ่ง คุณต้องทำความเข้าใจและยินดีที่จะเข้าใจเค้าอย่างใจจริงด้วยครับ

cr. Wealth Creation
ความรู้อื่นๆ เพิ่มเติม ได้ที่ www.impressionconsult.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 มิติคุณภาพบริการ

10 มิติคุณภาพบริการ

เทคนิคมีบุคลิกภาพที่ดีในที่ทำงาน