บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2017

วิจารณ์อย่างไรให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด

รูปภาพ
1. ทำให้มั่นใจว่าคำวิจารณ์ของคุณไม่มีเรื่องอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องที่ค่อนข้างส่งผลกระทบต่ออารมณ์ฝ่ายตรงข้าม หากคุณยิ่งใส่อารมณ์หรือจี้จุดลงไปอีก มีแต่เสียกับเสียครับ ผลลัพธ์ไม่เกิด ความเปลี่ยนแปลงไม่มี แถมความสัมพันธ์ก็ยังแย่ลงอีก เพราะฉะนั้นทำให้มั่นใจว่าคำวิจารณ์ของคุณคือคำวิจารณ์จริงๆ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามได้พัฒนาแก้ไข 2. ให้เจาะจงไปที่สาเหตุ ไม่ใช่ตัวบุคคล ก็ใช่ที่ผลกระทบนี้มันมาจากตัวเขา แต่ต้นตอที่เป็นปัญหาคือพฤติกรรมหรือแนวคิดที่เป็นสาเหตุนั้นยังไม่เหมาะสม คุณในฐานะผู้นำผู้สนับสนุน คุณต้องมองลึกลงมาที่สาเหตุแล้วเริ่มจากการแก้ไขปัญหาตรงนั้น การกล่าวอา้งอิงบุคคลมันมีแต่ให้ความรู้สึกกล่าวโทษ ไม่ดีต่อความสัมพันธ์แน่นอนครับ 3. และต้องแยกสาเหตุปัญหานั้นออกจากสิ่งดีๆ ของบุคคลนั้นให้ชัดเจน ไม่งั้นอีกฝ่ายจะเหมารวมเข้าใจว่าตัวเค้าไม่ดี และก็หยุดพัฒนาไปเสียดื้อๆ ทั้งที่จริงแล้วเรื่องที่คุณวิจารณ์(อย่างผิดๆ)นั้นอาจจะเป็นแค่เรื่องเดียวที่ไม่ดีในชีวิตของเขาก็ได้ 4. จะวิจารณ์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องให้คำแนะนำด้วย การวิจารณ์โดยไม่มีคำแนะนำมันก็คือคำตำหนิดีๆ นี่

ผู้นำยุคใหม่สร้างความเชื่อใจได้อย่างไร

รูปภาพ
การปฏิบัติ 6 รูปแบบที่เชื่อว่าจะช่วยให้ผู้นำสมัยใหม่สร้างความเชื่อใจ และเป็นผู้นำที่มีจริยธรรม การรับฟัง : เมื่อคราว Jim Dougherty ได้มาเป็นผู้บริหารระดับสูงของ Intralinks ซึ่งขณะนั้น องค์กรมีการสูญเสียเงินในอัตราที่รวดเร็ว และไม่แน่ใจว่าจะอยู่รอดต่อไปหรือไม่ แต่เมื่อถึงสิ้นปีแรกของการทำงาน องค์กรมีรายได้เพิ่มขึ้น 600% และประสบความสำเร็จในการลงทุนใหม่ๆ นั่นเป็นเพราะเขาใช้เวลาในวันแรกของการทำงานรับฟังเสียงของลูกค้าผ่านศูนย์รับฟังลูกค้า เขาให้ความสำคัญกับการใช้เวลาในการพบกับพนักงานและการรับฟังลูกค้า และเขาใช้เวลาครึ่งหนึ่งในช่วงสัปดาห์แรกๆ ของการทำงาน เพื่อพบปะผู้คน รับฟัง และจดบันทึก เขาถามพนักงานว่าจะทำอย่างไร หากได้เป็นผู้นำระดับสูง รวมทั้งเขาถามถึงอุปสรรคสำคัญ และโอกาสที่สำคัญที่องค์กรมี การที่ผู้นำใหม่แสดงให้เห็นว่า มีความใส่ใจในความคิดเห็นของพนักงาน นั่นคือการให้คุณค่าต่อพวกเขา และต้องการที่จะได้รับฟังข้อเท็จจริง อภิปรายค่านิยม ไม่ใช่วิสัยทัศน์ : ในขณะที่ท่านพบกับพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ควรแบ่งปันค่านิยม ทำให้เห็นว่าพวกเขาเกี่ยวข้องกับค่านิยมอย่างไร ทำให้มันชัด

พัฒนาทีมงาน อย่างชาญฉลาด

รูปภาพ
โลกแห่งการทำงานในปัจจุบัน คงไม่มีใครปฏิเสธการทำงานแบบ  "เป็นทีม"  เพราะการทำงานแบบนี้ จะนำเอาทักษะการทำงานของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน มาเสริมซึ่งกันและกัน ดังนั้น ทีมงาน จึงหมายถึง กลุ่มของผู้ซึ่งทำงานร่วมกันรับผลกระทบของงานที่ทำร่วมกัน มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน และพึ่งพากันในการทำงาน ทีมงานจะประสบความสำเร็จได้ ต้องขึ้นอยู่กับการวางรากฐาน หรือการสร้างทีมนั่นเอง บวกกับการใช้เทคนิคบางประการ เพื่อพัฒนาทีมงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  เริ่มวางรากฐาน  บ้านที่มั่นคงแข็งแรงเป็นเพราะการลงเสาที่ดี และทีมงานที่แข็งแกร่งนั้น ก็ขึ้นกับการวางรากฐานเช่นกัน แล้ว การปูรากฐานเพื่อสร้างทีมงานที่ดีควรทำอย่างไร? 1. การวางแผนทีมงาน การวางแผนทีมงานที่ดีจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมาย และแนวทางสู่จุดมุ่งหมายนั้นๆ โดยหาคำตอบให้กับตัวเองว่า เราต้องการอะไร ต้องการมากน้อยเพียงใด ต้องการเมื่อใด จะได้มาอย่างไร และใครเป็นผู้ดำเนินการ ดังนั้น การวางแผนที่ดีจึงต้องศึกษาถึงสภาพการณ์ภายในองค์กร อันได้แก่ โครงสร้างองค์กร ปริมาณและคุณภาพของบุคลากร กระบวนการทำงาน ฯลฯ รวมถึงสภาพภายนอกองค์กร เช่น เหตุการณ์บ้านเมื

4 ขั้นตอน เปลี่ยนตัวเองเป็นคนฉลาด

รูปภาพ
1. หาเหตุผลให้เจออย่างน้อย 3 ข้อ ว่า "ทำไมคุณถึงต้องพัฒนาทักษะนี้" มีหลายครั้งและหลายคนที่เสียเวลาอย่างมากไปกับทักษะที่แทบจะไม่ได้สำคัญอะไรกับชีวิตสายงานตัวเอง คือเหมือนกับว่าคนอื่นมีหรือคนอื่นอยากให้มีไม่ว่าจะทางอ้อมหรือทางตรงก็ตาม มันกลับกลายเป็นว่าเราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้ตรงกับความต้องการคนอื่นอย่างเดียว ..เมื่อนั่นไม่ใช่สิ่งที่เราเลือก มันก็ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะล้มเลิกอยู่แล้ว ถูกต้องไหม? 2. จะล้มยักษ์ทั้งทีอย่าได้เหิมเกริม คิดว่าครั้งเดียวเอาอยู่ ของแบบนี้ต้องอาศัยทั้ง tactics และ ความต่อเนื่อง หวังล้มยักษ์เป็นความทะเยอทะยานที่น่าเคารพ แต่กลยุทธ์วิธีและจังหวะเวลาเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญครับ มันคือแผนระยะยาวที่ต้องใช้ความอดทน ไม่มีหรอก ความสำเร็จชั่วข้ามคืน 3. แค่เรียนรู้ยังไม่พอ ต้องเรียนรู้และลงมือทำได้อย่างรวดเร็วด้วย จับประเด็นและสิ่งสำคัญที่ต้องใช้ออกมาก่อน มันจะตกผลึกออกก็ต่อเมื่อคุณได้หยิบมาใช้แล้วเท่านั้น เพราะอย่างนั้นไม่จำเป็นต้องรู้เยอะ แค่รู้ให้เท่าที่สมควรและนำไปใช้ให้เร็วที่สุด นั่นคือหัวใจ 4. ท้าทายตัวเองต่อไปเรื่อยๆ อย่าจำกั

ปัญหาในการพัฒนาทีมงาน

รูปภาพ
1. การสรรหาว่าจ้างที่ไม่สมเหตุสมผล : บางครั้งฝ่ายบุคคล คัดเลือกคนลงในตำแหน่งที่ว่างอยู่เพียงเพราะอัตราการจ่ายผลตอบแทนที่ตกลงกันได้ แต่กลับไม่เลือกคนที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม เพียงเพราะสิ่งที่เขาเรียกร้องนั้นมากเกินไป แต่อย่างไรก็ดี ไม่ว่าตลาดแรงงานจะอยู่ ในภาวะฝืดเคืองแค่ไหน จะต้องมีคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและไม่เรียกร้องมากไปอยู่ตรงไหนสักแห่ง จริงอยู่ว่าทักษะทุกอย่างเป็นสิ่งที่ฝึกฝนและสร้างขึ้นใหม่ได้ แต่จะไม่เป็นการดีกว่าหรือ หากสิ่งเหล่านั้นมีอยู่แล้วในตัวพนักงานที่คุณรับเข้ามา 2. การฝึกอบรมที่ไม่เพียงพอ : มีแนวโน้มว่าพนักงานหนึ่งในสามของตลาดแรงงานในปัจจุบันนั้นเป็นพวกที่เปลี่ยนงานปีต่อปี ข้อสังเกตนี้ทำให้ผู้ประกอบการ มองว่า การฝึกอบรมให้กับคนที่ไม่รู้ว่าจะอยู่กับองค์กรอีกนานเท่าไหร่ เป็นค่าใช้จ่ายที่เสียเปล่า เมื่อไม่มีการพัฒนาบุคลากร ความผูกพันกับหน่วยงานของพนักงานก็ยิ่งน้อยลง ความทุ่มเทให้กับงานและหน้าที่ก็ยิ่งน้อยลงไปด้วย ทำไมผู้บริหารไม่ลองคิดเสียใหม่ล่ะว่าการฝึกอบรมคือ การลงทุน ไม่ใช่เพียงค่าใช้จ่ายที่เสียเปล่า 3. การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ : บ่อยครั้งพนักงานท

หัวใจของการฝึกอบรมการบริการให้ได้ผล

รูปภาพ
1. ฝึกอบรมแบบพบหน้า เป็นการฝึกอบรมแบบใจถึงใจ ผู้สอนการบริการผู้นั้นต้องเป็นคนที่มีใจบริการเป็นทุนเดิมเสียก่อน เพราะเขาจะเป็นตัวอย่างแก่ผู้เรียนได้จริง 2. ปลูกฝังทัศนคติ (Attitude) เน้นปลูกทัศนคติ จิตสำนึกที่ดี สิ่งเหล่านี้จะเชื่อมโยงไปยังผู้ให้บริการเองด้วยว่า เขาจะได้ประโยชน์อะไรจากการให้บริการที่ดี 3. มีการฝึกฝนทักษะ การอบรมเรื่องบริการลูกค้า ไม่สามารถเรียนรู้ได้จากการฟัง แต่ต้องเรียนรู้จากการ “ ทำ ” จริง เสมือนการขับรถต้องมีการฝึก เพราะไม่มีทางที่ผู้ขับรถเรียนทฤษฎีแล้วจะขับรถได้ ดังนั้นแน่นอนว่า การฝึกอบรมการบริการ ให้ได้ผลนั้นต้องมีการ ฝึก ฝึก และฝึก ความรู้อื่นๆ เพิ่มเติม ได้ที่ www.impressionconsult.com